วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงไก่

ความสำคัญ ไก่พื้นเมืองตามประวัติศาสตร์ มีรายงานไว้ว่าเป็นไก่ที่มีต้นกำเนิดมาจากไก่ป่าในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นไทย มาเลเซีย และจีนตอนใต้ ซึ่งมนุษย์ได้นำมาเป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน หลังจากที่มนุษย์นำไก่มาเลี้ยง ไก่และมนุษย์ดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและคน ไก่อาศัยการเลี้ยงดูและการป้องกันอันตรายจากมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์อาศัยไก่และไข่เป็นอาหาร เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เรียกว่าเป็นขบวนการวิวัฒนาการของสัตว์และมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง การวิวัฒนาการของไก่เป็นไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์เจ้าของซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ บางปีเกิดภัยธรรมชาติรุนแรง สัตว์เลี้ยงตายลง หรือมีโรคระบาดรุนแรง ไก่จะตายมากแต่ไม่ตายหมด จะมีเหลือให้ขยายพันธุ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วจะเหลือต่ำกว่า 10% ซึ่งจำนวนนี้จะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวน ตัวที่แข็งแรงทนทานเท่านั้นจึงจะอยู่รอดจึงเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติจนเป็นไก่พื้นเมืองสืบทอดมาให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุกวันนี้ ดังนั้น ไก่พื้นเมืองจึงเป็นมรดกวัฒนธรรมและเทคโนโลยีชีวภาพที่หลากหลาย เป็นทรัพย์สินภูมิปัญญาของชาวบ้านโดยแท้ ชาวบ้านจดจำและเข้าใจการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและไก่พื้นเมืองควบคู่กันตลอดมา ส่วนใหญ่แล้วคนจะอาศัยไก่มากกว่าไก่อาศัยคน คือ ไก่สามารถคุ้ยเขี่ยหากินเองได้ตามธรรมชาติ ส่วนคนเมื่อไม่มีอาหารและไม่มีเงินใช้เล็กๆ น้อยๆ ก็จะต้องอาศัยไก่เป็นผู้ให้ ดังนั้น ไก่พื้นเมืองจึงเป็นไก่ที่วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพันธุ์มาโดยอาศัยพื้นฐานของธรรมชาติเป็นหลัก จึงทำให้ไก่พื้นเมืองมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ก็จะมีจุดเด่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว เข่น ความต้านทานโรคและแมลง สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูของเกษตรกรในชนบทโดยเฉพาะรายย่อย จึงเหมาะที่จะทำการอนุรักษ์และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน








การอนุรักษ์และการพัฒนาไก่พื้นเมือง การอนุรักษ์ หมายถึง การรักษาดำรงไว้ซึ่งแหล่งพันธุกรรมไก่พื้นเมืองและรวมไปถึงการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แบบยั่งยืน คือ ใช้แล้วไม่หมดไป สูญหายไป ทั้งนี้เพราะไก่พื้นเมืองมีพันธุกรรมที่ดีในเรื่องรสชาดและความอร่อยเป็นคุณสมบัติเฉพาะ การอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมสัตว์โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ การอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิม และนอกถิ่นกำเนิด แต่การอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิม คืออยู่กับเกษตรกรโดยตรงจะเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด เพราะว่าจุดประสงค์ของการอนุรักษ์มุ่งเน้น เพิ่มรายได้เกษตรกรรายย่อย และการอนุรักษ์โดยวิธีนี้จะสามารถรักษาและดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายในด้านแหล่งพันธุกรรมหรือสายพันธุ์ ลดความเสี่ยงต่อการสูญหาย เพราะไก่ในแต่ละครอบครัวของเกษตรกร จะมีคุณสมบัติทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน เช่น อัตราการเจริญเติบโต ขนาดของลำตัว สีขน ความยาวของแข้ง หรืออวัยวะต่างๆ จะผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม โดยไก่จะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอแต่เนื่องจาก การศึกษาและวิจัยประสบการณ์ของผู้รายงานนี้พบว่า การแสดงออกทางพันธุกรรมของไก่พื้นเมืองเห็นได้ชัดเจน เมื่อไก่นั้นอยู่ในสภาพธรรมชาติที่อาหารการกินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น ในช่วงที่อาหารขาดแคลน หรือคุณภาพอาหารไม่สมดุลจะเห็นว่าการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์จะแปรปรวนเห็นได้ชัดจากที่ไม่สามารถขยายพันธุ์ไปจนถึงขยายพันธุ์ได้จำนวนมากมายภายใต้สภาพแวดล้อมอันเดียวกัน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และวิวัฒนาการไปตามการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเศรษฐกิจและสังคม จึงนับได้ว่าการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิมจึงเป็นวิธีการอนุรักษ์ที่ถูก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น