วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

ดอกไม้

ไม้ดอกชนิดเป็นพุ่ม
กรรณิการ์
เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวออกเป็นคู่ เรียงตรงข้าม ใบทรงรูปไข่ ขอบใบเรียบหรือมีจักเล็กน้อย
ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เป็นดอกเดี่ยวมีโคนกลีบติดกัน มีลักษณะเป็นหลอดสีส้ม กลีบดอกแคบ ปลายกลีบสีขาวและไม่เสมอกัน จะมีกลิ่นหอมตอนกลางคืน และดอกจะร่วงหมดในตอนเช้า ผลมีลักษณะเป็นแผ่นแบน ภายในมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด
ขยายพันธุ์โดยการตอนหรือปักชำ กระดังงาสงขลา
เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวยาว กลีบรองดอกมีสามกลีบ สีเขียว มีขนาดสั้น กลีบใบเรียวสองชั้น ชั้นนอกมี 5 กลีบ ชั้นในมี 15 กลีบ ปลายกลีบเรียวแหลมโคนกลีบด้านในมีแต้มสีน้ำตาล ที่ฐานกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียติดอยู่
กระดังงา ออกดอกตลอดปี มีกลิ่นหอมอบอวล
ขยายพันธุ์ด้วยการตอน กระดุมทอง
เป็นไม้ล้มลุกพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 50 เซนติเมตร ลำต้นมีขนทึบใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม สัณฐานใบเป็นรูปไข่ หรือรูปรีกว้าง ใบกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ปลายแหลมโคนสอบ ขอบเรียบหรือหยักซี่ฟัน ผิวใบมีขนสากทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 1 เส้น ก้านใบสั้นมีครีบ มีขนตามก้านใบและขอบครีบ ช่อดอกแบบช่อกระจุก
ออกดอกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นคู่ ตามง่ามใบใกล้ยอดดอกโตประมาณ 3 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1-8 เซนติเมตร โคนช่อมีใบประดับมีขนเรียงกันถี่ โคนใบประกอบชั้นนอกใหญ่ขึ้นเมื่อดอกร่วงไป ดอกวงนอกเป็นดอกตัวเมีย มีประมาณ 10 ดอก กลีบดอกสีเหลืองรูปรี กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร รังไข่เล็ก ดอกวงในเหมือนดอกตัวเมีย แต่รังไข่ไม่สมบูรณ์ ดอกตัวผู้มีขนาดเล็กมากและเป็นหมัน อยู่กลางกระจุกดอก ผลมีสัณฐานเป็นรูปสามเหลี่ยม ยอดแบน เมล็ดเล็กสีดำเป็นมัน ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด กาหลง
เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 3 เมตร ใบเป็นแบบใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายเว้าลึกคล้ายใบแฝด
ดอกขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและกิ่งข้าง ดอกกาหลงมีกลีบ 5 กลีบ เกสร 10 อัน ขนาดต่าง ๆ กัน มีกลิ่นหอมรวยริน ฝักแบนมีเมล็ดประมาณ 5-10 เมล็ด
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการตอน กาหลงออกดอกได้ตลอดปี กุหลาบ
เป็นไม้พุ่มตั้งหรือเลื้อย ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วย 3 ใบ หรือ 5 ใบ ขอบใบจัก หูใบติดกับก้านใบหรือเป็นอิสระ
ดอกออกที่ปลายกิ่ง มีทั้งดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ กลีบรองดอกเป็นรูปถ้วยสีเขียว ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกปกติมี 5 กลีบ เกสรตัวเมียอยู่กลางดอกเป็นผลกลม ภายในมีเมล็ดแข็งจำนวนมาก เกสรตัวผู้มีอยู่เป็นจำนวนมาก กุหลาบมีหลายชนิด หลายพันธุ์ ส่วนใหญ่ดอกมีกลิ่นหอมเย็น
การขยายพันธุ์มีหลายแบบ เช่น เพาะเมล็ด ตอน ติดตา และปักชำ
...กุหลาบหอมหวล

ส่งกลิ่นยียวนแสนยวนยั่วหัวใจ
ทั้งหอมทั้งหวาน
ดอกเพิ่งบานใหม่ ๆ ...
...ฉันมั่นใจกุหลาบเป็นไม้งามละม่อม

ควรจะออมถนอมชม
ทุก ๆ คนพอใจมักเด็ดเอาไปดอมดม
หรือจะชมเสียบผมชื่นอุรา
สวยสีสรรค์ทุก ๆ พรรณสุดจะเด่น
กลิ่นเยือกเย็นสีที่เห็นไม่บาดตา
กลีบเกสรกลีบอ่อนซ้อนกันดูงามสง่า

ทุกเวลารวยรื่นนาสาน่าดม...
...ริมธารละลานไปด้วยบุปผา

ดอกแดงกุหลาบพนาสลับลัดดากล้วยไม้ไพร...

การเลี้ยงปลากัด

เลี้ยงปลากัด
นายมงคล ไตรบัญญัติกุล

เลี้ยงปลากัดสีสวยเพาะพันธุ์ง่าย
ปลากัดเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง ที่มีผู้นิยมเลี้ยงกันมานานแล้ว จนมีการพัฒนาพันธุ์ให้มีหลากหลายสี เป็นที่ต้องการของตลาด การเพาะพันธุ์ปลากัดเริ่มแรกจะต้องเลือกพ่อแม่ปลาที่มีอายุ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป มีความสมบูรณ์เต็มที่
โดยจะสังเกตได้จากตัวผู้เมื่อนำ มาเทียบกับตัวเมียจะว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วและก่อหวอดขึ้น ส่วนตัวเมียที่บริเวณท้องจะมีลักษณะอูมบวมเพราะมีไข่อยู่ เมื่อได้พ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์แล้ว ก็นำมาแยกใส่ขวด โหล ตั้งไว้ติดกันเพื่อให้ตัวเมียไข่สุกเร็วขึ้นซึ่งฤดูกาลควรจะเริ่มในช่วง เดือนพฤษภาคม-กันยายน เพราะถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวปลาจะไม่ค่อยผสมพันธุ์กัน เมื่อเทียบปลาไปได้
ประมาณ 2 อาทิตย์ ก็นำใส่ลงในบ่อปูนหรือกะละมัง ก็ได้ โดยให้มีระดับน้ำพอเหมาะ และควรใส่ไม้น้ำลงไปเพื่อให้พ่อปลาก่อหวอดหลังจากนั้น 2 วัน พ่อปลาจะเริ่มก่อหวอดและคลี่ครีบไล่ต้อน ตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอดเพื่อรัดท้องแม่ปลารีดไข่ให้ออกมาแล้วฉีดน้ำเชื้อลงในไข่ และไข่จะจมลงไปสู่พื้นบ่อ พ่อปลาจะว่ายไปอมไข่มาไว้ที่หวอด เมื่อแม่ปลาวางไข่หมดแล้วให้นำออกจากบ่อป้องกันไม่ให้กินไข่ แล้วปล่อยให้พ่อปลาดูแลไข่ประมาณ 2 วัน จึงนำออกจากบ่อเพาะเช่นเดียวกัน ไข่ปลาจะเริ่มฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 36 ชั่วโมง แล้วจะเกาะอาศัยอยู่ที่หวอด ในระยะ 3-4 วันแรกยังไม่ต้องให้อาหารเพราะลูกปลามีถุงอาหารติดอยู่หลังจากที่ฝักออกมา เมื่อถุงอาหารยุบแล้วก็เริ่ม ให้อาหารเป็นไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ กรองผ่านกระชอนตาถี่วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 - 5 วันจึงเปลี่ยนไปให้ไรแดงขนาดเล็กแทน จนกระทั่งปลากินลูกน้ำได้ ซึ่งจะสามารถแยกเพศเมื่อปลาได้อายุ 45 วันขึ้นไป และเมื่อปลาเริ่มกัดกันจึงค่อยแยกใส่ขวดโหลขวดละตัว ปลากัดตัวผู้จะมีสีสันและความสวยงามมากกว่าปลากัดตัวเมีย แต่ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีนิสัยก้าวร้าวมากกว่าปลากัดตัวเมีย
Halfmoon & Superdelta
Crowntail
Plakat
ปลากัดไทย

การเลี้ยงปลากัด

เลี้ยงปลากัด
นายมงคล ไตรบัญญัติกุล

เลี้ยงปลากัดสีสวยเพาะพันธุ์ง่าย
ปลากัดเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง ที่มีผู้นิยมเลี้ยงกันมานานแล้ว จนมีการพัฒนาพันธุ์ให้มีหลากหลายสี เป็นที่ต้องการของตลาด การเพาะพันธุ์ปลากัดเริ่มแรกจะต้องเลือกพ่อแม่ปลาที่มีอายุ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป มีความสมบูรณ์เต็มที่
โดยจะสังเกตได้จากตัวผู้เมื่อนำ มาเทียบกับตัวเมียจะว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วและก่อหวอดขึ้น ส่วนตัวเมียที่บริเวณท้องจะมีลักษณะอูมบวมเพราะมีไข่อยู่ เมื่อได้พ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์แล้ว ก็นำมาแยกใส่ขวด โหล ตั้งไว้ติดกันเพื่อให้ตัวเมียไข่สุกเร็วขึ้นซึ่งฤดูกาลควรจะเริ่มในช่วง เดือนพฤษภาคม-กันยายน เพราะถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวปลาจะไม่ค่อยผสมพันธุ์กัน เมื่อเทียบปลาไปได้
ประมาณ 2 อาทิตย์ ก็นำใส่ลงในบ่อปูนหรือกะละมัง ก็ได้ โดยให้มีระดับน้ำพอเหมาะ และควรใส่ไม้น้ำลงไปเพื่อให้พ่อปลาก่อหวอดหลังจากนั้น 2 วัน พ่อปลาจะเริ่มก่อหวอดและคลี่ครีบไล่ต้อน ตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอดเพื่อรัดท้องแม่ปลารีดไข่ให้ออกมาแล้วฉีดน้ำเชื้อลงในไข่ และไข่จะจมลงไปสู่พื้นบ่อ พ่อปลาจะว่ายไปอมไข่มาไว้ที่หวอด เมื่อแม่ปลาวางไข่หมดแล้วให้นำออกจากบ่อป้องกันไม่ให้กินไข่ แล้วปล่อยให้พ่อปลาดูแลไข่ประมาณ 2 วัน จึงนำออกจากบ่อเพาะเช่นเดียวกัน ไข่ปลาจะเริ่มฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 36 ชั่วโมง แล้วจะเกาะอาศัยอยู่ที่หวอด ในระยะ 3-4 วันแรกยังไม่ต้องให้อาหารเพราะลูกปลามีถุงอาหารติดอยู่หลังจากที่ฝักออกมา เมื่อถุงอาหารยุบแล้วก็เริ่ม ให้อาหารเป็นไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ กรองผ่านกระชอนตาถี่วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 - 5 วันจึงเปลี่ยนไปให้ไรแดงขนาดเล็กแทน จนกระทั่งปลากินลูกน้ำได้ ซึ่งจะสามารถแยกเพศเมื่อปลาได้อายุ 45 วันขึ้นไป และเมื่อปลาเริ่มกัดกันจึงค่อยแยกใส่ขวดโหลขวดละตัว ปลากัดตัวผู้จะมีสีสันและความสวยงามมากกว่าปลากัดตัวเมีย แต่ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีนิสัยก้าวร้าวมากกว่าปลากัดตัวเมีย
Halfmoon & Superdelta
Crowntail
Plakat
ปลากัดไทย

การเลี้ยงสุนัข

ขอต้อนรับเข้าสู่โลกของลูกสุนัข
ลูกสุนัขที่ได้มาใหม่จะนำความปิติมาสู่คุณนานหลายปี ในวันข้างหน้าเขาจะมาเป็นสหายที่ใกล้ชิด เพื่อนเล่นที่เป็นมิตรที่ไว้ใจได้ อย่างไรก็ตาม หากปราศจากความพยายามสิ่งนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น คุณควรเริ่มฝึกเขา ตั้งเต่ยังเล็กอยู่ เพื่อต้อนรับเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัว ก็เหมือนๆกับเด็กทารกนั่นเอง ลูกสุนัขที่ได้มาใหม่ ต้องการอาหาร การหลับนอน การเล่นและการฝึกที่สม่ำเสมอ ซึ่งก็หมายความว่าเขาต้องการการดูแล และเอาใจใส่อย่างมาก เราตระหนักดีว่าเจ้าของลูกสุนัขที่มาใหม่มีความผูกพันกันอย่างมาก เราจึงนำท่านและลูกสุนัขมาอยู่ด้วยกันเพื่อจะได้เริ่มต้นอย่างถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วยเคล็ดลับเบื้องต้นเกี่ยวกับในวันแรกที่เขาเข้ามาอยู่ในบ้าน เป็นต้นว่า ที่อยู่ของลูกสุนัข การเคี้ยวและการฝึกในบ้าน เป็นต้น
ที่อยู่ของลูกสุนัข
ลูกสุนัขต้องการที่อยู่ที่เป็นส่วนตัว หากล่องหรือที่นอนสำหรับสุนัขไว้ในคอกที่อบอุ่นและมีมุมที่ไม่มีลมโกรก (กรงสุนัขที่ใช้ในเวลาการเดินทางจะได้เปรียบ เพราะสามารถนำมาใช้ได้ตลอดอายุขัยของเขา ถ้าจะซื้อมาใช้ ต้องให้มีขนาดใหญ่พอเมื่อเขาโตเต็มที่) เขาจะใช้กรงเป็นสถานที่พักผ่อนนอนหลับและรู้สึกปลอดภัยและอุ่นใจ เอากล่องกระดาษหรือกล่องไม้วางด้านข้างลงทำเป็นเตียงนอนที่มิดชิด เขาก็จะยิ่งรู้สึกปลอดภัย เหตุผลก็คือว่า บรรพบุรุษซึ่งคล้ายกับหมาป่าของเขาเคยอาศัยถ้ำเป็นบ้านพัก โดยสัญชาตญาณลูกสุนัขก็จะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยในที่ที่คล้ายกับถ้ำ อาจจะปูพื้นด้วยผ้าเช็ดตัว หรือผ้าห่มเก่าๆที่อยู่ของเขาก็จะสมบูรณ์แบบ เมื่อเขาอยู่ในที่ของเขา อย่าได้รบกวนหรือดึงตัวเขาออกมา ควรให้เขาออกมาเองอย่าให้เด็กๆ รบกวนหรือเย้าแหย่เขาเล่น เขาต้องการความรู้สึกปลอดภัยถ้าเขาอยู่ในที่ของเขา อย่ากักขังเขาในกรงเป็นเวลานานๆ ถ้าเขาทำอะไรผิดก็อย่าได้ไล่เขาเข้าไปในกรง การทำอย่างนั้นจะทำให้เขารู้สึกว่ามันเป็นที่ทำโทษเขา แทนที่จะเป็นสถานที่พักที่มีความสุขสบาย คุณควรจะรู้สึกสบายใจที่ลูกสุนัขมีที่ของตัวเอง เขาจะไปงีบหรือขดตัวนอนอย่างมีความสุขตลอดคืน โดยไม่เห่าหรือร้องคราง และคุณก็รู้ว่าเขาจะไม่ก่อความเดือดร้อนให้แม้คุณจะไม่คอยเฝ้าดูเขาก็ตาม
การเคี้ยว
ฟันของลูกสุนัขจะขึ้นอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3 ถึง 6 เดือน ในช่วงนี้ควรจะให้ อะไรเขาเพื่อขบเคี้ยว เพื่อช่วยในการขึ้นของฟัน ลูกสุนัขจะกัดสิ่งของโดยไม่เลือก เขาไม่รู้ว่านั่นคือรองเท้าคู่ที่ดีที่สุดของคุณ หรือมันคือขาโต๊ะที่เป็นวัตถุโบราณเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากลูกสุนัข ขอแนะนำให้หาของขบเคี้ยวที่ไม่แตกหักหรือเป็นภัยกับลูกสุนัขเพื่อจะขบเคี้ยวเล่น เช่น ลูกบอลยางที่โตและแข็งพอที่เขาจะกลืนไม่ได้ หรืออาจจะเป็นกระดูกเทียม คุณอาจจะให้รองเท้าเก่าๆ หรือวัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรองเท้าเหมือนของคน เพราะสุนัขคิดว่าจะเป็นรองเท้าอะไรก็ได้ทั้งนั้นเพื่อความสนุกสนาน อย่าให้กระดูกจริงทั้งสุกและดิบก็ตาม เพราะกระดูกแตก ทำให้เกิดบาดแผลในปากหรือติดคอในขณะที่เขากลืนเศษกระดูกเข้าไป หาทางทำให้กระดูกเทียมและลูกบอลเป็นที่ดึงดูดสำหรับลูกสุนัข โดยที่คุณนำสิ่งเหล่านั้นมาเล่นเกมส์กับเขา เมื่อไรก็ตามหากลูกสุนัขเขาเริ่มจะกัดแทะสิ่งของที่ต้องห้ามก็รีบนำกระดูกเทียมหรือลูกบอลให้แทน ออกคำสั่งว่า "อย่า" อย่างขึงขังแล้วนำสิ่งของที่มีค่าออกห่างจากเขา เมื่อเห็นว่าเขาเริ่มกัดแทะของที่เราให้เขา ก็ให้กล่าวชมความประพฤติที่ดี แล้วจะรู้สึกว่าจะมีการตอบสนองอย่างมีความสุข ช่วยให้ลูกสุนัขให้อยู่ห่างไกลจากสิ่งที่เป็นโทษ เป็นต้นว่า น้ำยาทำความสะอาดทินเนอร์ สารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน และสิ่งของที่มีอันตราย โดยเก็บสิ่งเหล่านั้นในตู้ที่ล็อกกุญแจได้
การฝึกในบ้าน
ควรฝึกลูกสุนัขโดยทันที เริ่มจากการให้อาหารลูกสุนัขเป็นเวลาและพาออกไปเที่ยวนอกบ้านบ่อยๆ ถ้าหากคุณเลี้ยงลูกสุนัขของคุณด้วยอาหารของลูกสุนัขของยูคานูบาหรืออามส์สำหรับลูกสุนัข จะพบว่าเวลาในการฝึกจะสั้นลงเนื่องจากการให้อาหารและการขับถ่ายจะเป็นกิจวัตรจะมีสิ่งบอกเหตุซึ่งคุณคุณต้องคอยสังเกตว่า ถึงเวลาที่จะต้องนำลูกสุนัขออกไปนอกบ้าน ในกรณีที่ลูกสุนัขเดินไปตามพื้นเป็นรูปวงกลม นั่งหรือร้องครางอยู่ที่ประตู หรือถ้าคุณมองเห็นสุนัขของคุณมองคุณด้วยสายตาวิงวอน และกระวนกระวาย นั่นแสดงว่าเป็นเวลาที่คุณควรจะนำเขาออกไปข้างนอกหลังจากที่ลูกสุนัขปัสสาวะเสร็จ ให้ชมเขาอย่างเงียบๆ แล้วนำเขาเข้ามาในบ้านในไม่ช้าเขาก็จะเชื่อมโยงการปัสสาวะนอกบ้านกับคำชมเชยของคุณ
เมื่อไหร่ถึงจะพาลูกสุนัขออกไปนอกบ้าน- หลังจากพระอาทิตย์ขึ้นเพียงเล็กน้อย สำหรับลูกสุนัขส่วนใหญ่ - หลังจากการงีบของเขา - หลังจากกลับบ้านมาหาเขา ซึ่งปล่อยให้อยู่โดยลำพัง - หลังอาหารโดยทันที - หลังจากที่คุณจะพักผ่อน เมือไรก็ตามที่ลูกสุนัขจ้องมองคุณ
แล้วเขาก็กระตือรือร้นที่จะเอาใจคุณ บางครั้งอาจจะพบว่ามีการขับถ่ายเลอะเทอะ คุณก็ไม่ควรขึ้นเสียงหรือตบตีเขาหรือจับเขาดมสิ่งที่เขาขับถ่ายออกมา ในขณะที่เขาอาจจะหมอบคุดคู้ด้วยความหวาดกลัว เขายังเล็กเกินไปที่จะโดนการดุว่าในเรื่องการขับถ่ายที่เลอะเทอะ ถ้าคุณพบเขากำลังถ่ายอยู่ ก็จงรีบนำเขาออกไปนอกบ้านเพื่อให้เขาขับถ่ายจนสุดแล้ว ให้กล่าวชมในความพยายามของเขา การทำความสะอาดสิ่งขับถ่ายที่เลอะเทอะ สารดับกลิ่นและสารขับไล่แมลงจะช่วยได้มาก อย่าใช้สารทำความสะอาดที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนผสม แม้ว่าในทางเคมีแอมโมเนียและยูรีน จะมีส่วนคล้ายคลึงกันเมื่อทำความสะอาด ควรจะต้องให้แห้งสนิท หาไม่แล้วลูกสุนัขของคุณจะกลับมาสูดดมกลิ่นที่ทำให้เลอะเทอะและอาจจะถูกกระตุ้นให้ทำความเลอะเทอะอีก

การเลี้ยงไก่

ความสำคัญ ไก่พื้นเมืองตามประวัติศาสตร์ มีรายงานไว้ว่าเป็นไก่ที่มีต้นกำเนิดมาจากไก่ป่าในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นไทย มาเลเซีย และจีนตอนใต้ ซึ่งมนุษย์ได้นำมาเป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน หลังจากที่มนุษย์นำไก่มาเลี้ยง ไก่และมนุษย์ดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและคน ไก่อาศัยการเลี้ยงดูและการป้องกันอันตรายจากมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์อาศัยไก่และไข่เป็นอาหาร เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เรียกว่าเป็นขบวนการวิวัฒนาการของสัตว์และมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง การวิวัฒนาการของไก่เป็นไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์เจ้าของซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ บางปีเกิดภัยธรรมชาติรุนแรง สัตว์เลี้ยงตายลง หรือมีโรคระบาดรุนแรง ไก่จะตายมากแต่ไม่ตายหมด จะมีเหลือให้ขยายพันธุ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วจะเหลือต่ำกว่า 10% ซึ่งจำนวนนี้จะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวน ตัวที่แข็งแรงทนทานเท่านั้นจึงจะอยู่รอดจึงเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติจนเป็นไก่พื้นเมืองสืบทอดมาให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุกวันนี้ ดังนั้น ไก่พื้นเมืองจึงเป็นมรดกวัฒนธรรมและเทคโนโลยีชีวภาพที่หลากหลาย เป็นทรัพย์สินภูมิปัญญาของชาวบ้านโดยแท้ ชาวบ้านจดจำและเข้าใจการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและไก่พื้นเมืองควบคู่กันตลอดมา ส่วนใหญ่แล้วคนจะอาศัยไก่มากกว่าไก่อาศัยคน คือ ไก่สามารถคุ้ยเขี่ยหากินเองได้ตามธรรมชาติ ส่วนคนเมื่อไม่มีอาหารและไม่มีเงินใช้เล็กๆ น้อยๆ ก็จะต้องอาศัยไก่เป็นผู้ให้ ดังนั้น ไก่พื้นเมืองจึงเป็นไก่ที่วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพันธุ์มาโดยอาศัยพื้นฐานของธรรมชาติเป็นหลัก จึงทำให้ไก่พื้นเมืองมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ก็จะมีจุดเด่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว เข่น ความต้านทานโรคและแมลง สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูของเกษตรกรในชนบทโดยเฉพาะรายย่อย จึงเหมาะที่จะทำการอนุรักษ์และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน








การอนุรักษ์และการพัฒนาไก่พื้นเมือง การอนุรักษ์ หมายถึง การรักษาดำรงไว้ซึ่งแหล่งพันธุกรรมไก่พื้นเมืองและรวมไปถึงการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แบบยั่งยืน คือ ใช้แล้วไม่หมดไป สูญหายไป ทั้งนี้เพราะไก่พื้นเมืองมีพันธุกรรมที่ดีในเรื่องรสชาดและความอร่อยเป็นคุณสมบัติเฉพาะ การอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมสัตว์โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ การอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิม และนอกถิ่นกำเนิด แต่การอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิม คืออยู่กับเกษตรกรโดยตรงจะเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด เพราะว่าจุดประสงค์ของการอนุรักษ์มุ่งเน้น เพิ่มรายได้เกษตรกรรายย่อย และการอนุรักษ์โดยวิธีนี้จะสามารถรักษาและดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายในด้านแหล่งพันธุกรรมหรือสายพันธุ์ ลดความเสี่ยงต่อการสูญหาย เพราะไก่ในแต่ละครอบครัวของเกษตรกร จะมีคุณสมบัติทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน เช่น อัตราการเจริญเติบโต ขนาดของลำตัว สีขน ความยาวของแข้ง หรืออวัยวะต่างๆ จะผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม โดยไก่จะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอแต่เนื่องจาก การศึกษาและวิจัยประสบการณ์ของผู้รายงานนี้พบว่า การแสดงออกทางพันธุกรรมของไก่พื้นเมืองเห็นได้ชัดเจน เมื่อไก่นั้นอยู่ในสภาพธรรมชาติที่อาหารการกินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น ในช่วงที่อาหารขาดแคลน หรือคุณภาพอาหารไม่สมดุลจะเห็นว่าการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์จะแปรปรวนเห็นได้ชัดจากที่ไม่สามารถขยายพันธุ์ไปจนถึงขยายพันธุ์ได้จำนวนมากมายภายใต้สภาพแวดล้อมอันเดียวกัน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และวิวัฒนาการไปตามการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเศรษฐกิจและสังคม จึงนับได้ว่าการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิมจึงเป็นวิธีการอนุรักษ์ที่ถูก

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงสุกร

ความเป็นมาเมื่อวันที่ 22 - 23 มีนาคม 2548 คณะครูศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสูงเม่นได้เข้าร่วมอบรมโครงการถ่ายเทคโนโลยี การผลิตหมูหลุม เพื่อสร้างรายได้ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 7 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่การเลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติของเกาหลี (หมูหลุม) นอกจากจะให้กำไรงามแก่ผู้เลี้ยงแล้ว ยังสามารถลดต้นทุนอาหารได้ ถึง 70 % ทำให้ภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเบาแรงลง เนื่องจากเกษตรกร ไม่ต้องกวาดพื้นคอก กำจัดขี้หมู ไม่มีกลิ่นเหม็นของขี้หมูรบกวน พื้นคอก ไม่เฉอะแฉะ และไม่มีแมลงวันตอมแนวคิดที่เลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)1. ต้องการศึกษา เรียนรู้ วิธีการ เลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเรียนรู้การแก้ไขปัญหาที่เผชิญได้ด้วยตัวเอง2. เป็นแนวทางการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน ตามภารกิจงานการศึกษานอกโรงเรียน3. เป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว มีส่วนร่วมในกระบวนการคิด บริการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวอยากให้ชาวบ้าน และแนวทางการเลี้ยงในการแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นโรงเรือน สุกร 10 ตัว จะใช้พื้นที่ในการเลี้ยงขนาดความกว้าง 3 เมตร x ความยาว 6 เมตร หลังคายกสูงให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกลักษณะของโรงเรือน1. ตั้งอยู่บนที่สูง ที่ดอน 2. สร้างโรงเรือนตามแนวทิศทางของตะวันออก – ตะวันตก3. วัสดุมุงหลังคาควรเป็นกระเบื้อง หรือ คา4. หลังคาสูง – เอน เช่น- เพิงหมาแหงน- เพิงหมาเหงนกลาย- แบบจั่ว- จั่ว 2 ชั้น- จั่ว 2 ชั้นกลายพื้นคอกการเตรียมคอกขุดดินออกไปทั้งหมด ให้ลึกประมาณ 90 เซนติเมตร ปรับขอบรอบๆ แล้วผสมวัสดุเหล่านี้ ใส่แทนดินที่ขุดออกไป วัสดุที่ใช้ได้แก่- ขี้เลื่อย หรือ แกลบหยาบ 100 ส่วน- ดินที่ขุดออก 10 ส่วน- เกลือ 0.3 - 0.5 ส่วนนำวัสดุเหล่านี้ คลุกเคล้าผสมกัน ลงไป 30 เซนติเมตร ใช้จุลินทรีย์ที่ได้จากการหมักพืช จุลินทรีย์เชื้อราขาวจากป่าไผ่ อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร ราดลงบนวัสดุรองพื้น โรยดินชีวภาพเชื้อราขาวบางๆ ชั้นที่ 2 และ 3 ทำเหมือนชั้นแรก ชั้นสุดท้ายโรยแกลบดิบ ปิดหน้า หนึ่งฝามือการเตรียมหลุม และพื้นคอกหมูหลุมอาหารและการให้อาหาร- ถังน้ำ และรางอาหาร ควรตั้งไว้คนละด้าน เพื่อหมูจะเดินไปมาเป็นการออกกำลังกาย การเริ่มต้นเลี้ยงสุกร เมื่อหย่านม จะเป็นการดีที่ฝึกวิธีการเลี้ยงแบบธรรมชาติ การให้อาหารให้เพียงวันละ 1 ครั้ง (ปรับตามความเหมาะสม)อาหารที่ให้ใช้พืชผักสีเขียว เป็นอาหารเสริม อาหารหมัก ใช้ผักสีเขียว หยวกกล้วย มะละกอดิบ ใบบอน วัชพืชต่างๆ ที่หมูชอบ สับผักเป็นชิ้นเล็กๆ คลุกน้ำตาลทรายแดง โดยหมักในอัตราส่วน 100 : 4 : 1 คือ ใช้พืช 100กิโลกรม : น้ำตาล 4 กิโลกรม : เกลือ 1 กิโลกรัม นำไปเลี้ยงสุกรโดยผสมปลายข้าว รำอ่อน ก็จะช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยงขั้นตอนการเตรียม อาหาร และน้ำดื่ม สำหรับสุกร 1. น้ำดื่มสำหรับหมูหลุมสำหรับ น้ำ 1 ถัง ( 20 ลิตร) ส่วนผสมน้ำดื่มให้สุกร1. หัวเชื้อจุลินทรีย์ผัก หรือผลไม้ 2 ช้อนโต๊ะ2. น้ำฮอร์โมน สมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ (เหล้าดองยา)3. นมเปรี้ยว 2 ช้อนโต๊ะ4. น้ำหมักแคลเซียม 2 ช้อนโต๊ะ5. น้ำสะอาด 20 ลิตรผสมให้ดื่มเป็นประจำทุกวัน หากพื้นคอกสุกรแน่น หรือแข็ง ก็ใช้น้ำดังกล่าวราดบนพื้นคอก จะทำให้เกิดกลิ่นหอม จูงใจให้สุกรขุดคุ้ยเป็นการกลับหน้าดิน ช่วยให้พื้นคอกร่วนโปร่ง มีอากาศถ่ายเท เกิดจุลินทรีย์มากมาย2. การทำอาหารหมักวัสดุอุปกรณ์1. ผักใบเขียวต่างๆ หยวกกล้วย ใบบอน พืชใบเขียว2. ถุงพลาสติก3. น้ำตาลทรายแดง4. เกลือป่น หรือเกลือเม็ด5. กระดาษสีขาว6. เชือกฟางวิธีนำอาหารหมักไปใช้ ใช้อาหารหมัก 7 ส่วน ต่อ อาหารเม็ด 1 ส่วน ต่อรำ 2 ส่วน หรือ 7 : 1 : 2 ถ้าคิดเป็น 100 % (อาหารหมัก 70 % : อาหารเม็ด 15 % : รำ 15 % ) สามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้เลี้ยง การทำอาหารหมักจากพืช
อาหารหมักจากพืชที่ผสมเรียบร้อยแล้ว3. การทำน้ำหมักผลไม้วัสดุอุปกรณ์1. ผลไม้สุก / ดิบ2. น้ำตาลทรายแดง3. ขวดโหล / ถัง / โอ่ง (สำหรับหมัก)4. เชือกฟาง5. กระดาษขาวน้ำหมักผลไม้ และยาดองสำหรับเลี้ยงสุกรวิธีทำ1. เตรียมผลไม้ ควรเป็นผลไม้ที่สุกจัด หรือร่วงตกใต้ต้น เช่น มะม่วง องุ่น มะละกอ สับปะรด มะเฟือง กล้วย ฯลฯ ถ้ามีผลไม้ไม่พอก็สามารถเติมพืช อื่นเป็นส่วนประกอบได้ เช่น รากผักขม มันแกว มันเทศ แครอท มันสำปะหลัง พืชตระกูลแตง หัวผักกาด เป็นต้น หากผักหรือผลไม้ที่ใช้หมัก มีมากพอก็สามารถทำเป็น ชนิดเดียวกัน 2. ใช้ผลไม้หมัก 1 กิโลกรัม ต่อน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม (ในฤดูร้อน) ส่วนในฤดูหนาวเพิ่มน้ำตาล ทรายแดง ½ กิโลกรัม (น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกผสมในผลไม้ และส่วนที่ 2 ใช้โรยหน้า)3. ล้างภาชนะที่จะใช้หมัก และตากแดงให้แห้ง4. ชั้นที่อยู่ก้นภาชนะให้วางเรียงวัตถุดิบเป็นชั้นๆ โรยน้ำตาลทรายแดงปิดทับเป็นชั้นๆ โรยน้ำตาลทราบแดงทับจนหมด (ให้เหลือที่ว่างห่างจากปากภาชนะ 1/3 ของความสูงของภาชนะ) จากนั้น ใช้น้ำตาลส่วนที่เหลือปิดทับด้านหน้าให้หนา เพื่อป้องกันอากาศ ควรใส่ผลไม้ที่มีความความหวานไว้ด้านล่าง โดยเรียงลำดับตามความหวาน ผลไม้ที่ให้ความหวานน้อยที่สุดให้ใส่ชั้นบนสุด ผลไม้ที่เป็นชิ้นเล็กๆ เช่นองุ่น ให้ใช้มือที่สะอาดบีบให้แตกขณะนำไปหมักในโอ่ง หรือภาชนะหมัก6. คลุมปากภาชนะด้วยกระดาษขาว และมัดปากภาชนะด้วยเชือก7. ในฤดูร้อน กระบวนการหมักใช้เวลา 4 – 5 วัน ส่วนในฤดูฝนกระบวนการหมักใช้เวลา 7 – 10 วัน ส่วนในฤดูหนาว จะใช้เวลาในการหมัก 10-15 วัน8. เก็บภาชนะหมักไว้ในที่ร่ม และมีอากาศเย็น ไม่ให้ถูกแสงแดด ไม่ควรปิดภาชนะในระหว่างกระบวนการหมัก กำลังดำเนินการอยู่วิธีการนำไปใช้- ใช้น้ำหมักในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร- ใช้พ่นกับพืชเมื่อเข้าสู่ระยะเปลี่ยนวัย ( เข้าสู่การออกดอกออกผล)- รดพื้นคอก ผสมให้หมูกิน รดผัก4. การทำน้ำแคลเซียมวัสดุอุปกรณ์1. กระดูก เปลือกไข่ 2. น้ำซาวข้าว , น้ำมะพร้าว3. ถังพลาสติก4. เครื่องผลิตออกซิเจนใส่ตู้ปลา5. น้ำตาลทรายวิธีทำ1. รวบรวมเปลือกไข่ นำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด2. เปลือกไข่ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำซาวข้าว 20 ลิตร 3. นำเปลือกไข่ที่บดละเอียดใส่ภาชนะ เติมน้ำซาวข้าว และน้ำ ทิ้งช่องอากาศอยู่ประมาณ 30 % เปิดฟองอากาศทิ้งไว้ ประมาณ 20 วัน จะเกิดฟองปฏิกิริยาขึ้นอย่างต่อเนื่อง4. เมื่อใส่ออกซิเจนครบ 20 วันแล้ว ให้เติมน้ำตาล 1 กิโลกรัม ลงไป วิธีนำไปใช้- ใช้น้ำหมักแคลเซียมในอัตรา 2 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร- ฉีดพ่น พืช ผัก- ใช้ผสมในน้ำให้หมูกิน- ใช้ผสมกับน้ำทะเล ในการรดผลไม้ในระยะออกผล เพิ่มความหวานให้กับผลไม้5. การทำนมเปรี้ยว (โยเกิร์ต)วัสดุอุปกรณ์1. น้ำซาวข้าว2. รำละเอียด3. ถัง4. ขวดโหล5. นมสดพลาสเจอร์ไรด์ (นมจืด)6. สายยาง7. กระดาวข้าว8. เชือกฟางวิธีทำ1. นำน้ำซาวข้าวใส่ภาชนะที่มีความสูง 15 เซนติเมตร โดยให้เหลือพื้นที่ในภาชนะ 1/3 ส่วน สำหรับอากาศ นำกระดาษขาวปิด ผูกเชือก ใช้เวลาในการหมัก 5 - 7 วัน เก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิประมาณ 20 – 25 องศาเซลเซียส แบคทีเรียจะเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเปรี้ยวออกมา2. นำรำละเอียดโรยปิดหน้าน้ำซาวข้าวหมักทิ้งไว้ 2 วัน หลังจากนั้นใช้สายยางทำการลักน้ำออกมาใส่ภาชนะที่เตรียมไว้โดยไม่ให้มีตะกอนติดออกมาพร้อมกับน้ำที่ลักออกมา โดยใช้น้ำที่ได้ 1 ส่วน ต่อนมสดพาสเจอไรด์ ลงไป 10 ส่วน เติมน้ำตาลทรายแดงลงไป ½ กิโลกรัม ของวัตถุดิบทั้งหมด ใช้กระดาษปิด ผูกเชือกทิ้งไว้ 5 - 7 วันจึงนำไปใช้วิธีการนำไปใช้ - ใช้นมเปรี้ยวในอัตรา 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร- ผสมให้หมูกิน- รดพื้นคอก6. การทำหมากฝรั่ง หมูวัสดุอุปกรณ์1. ไม้เนื้ออ่อน (ไม้กระถิน ฉำฉา ไมยาราบ)2. ถังพลาสติก3. กระสอบฟาง4. เชือกฟาง5. หัวเชื้อฮอร์โมนสมุนไพร6. น้ำตาลทรายแดงวิธีทำ1. เตรียมไม้เนื้ออ่อน มาตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 1 คืบ2. เตรียมน้ำ 10 ลิตร ต่อ เหล้าสมุนไพร 2 –3 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำตาลทรายแดง ครึ่งกิโลกรัม ผสมให้เข้ากันแล้วนำไม้เนื้ออ่อนที่เตรียมไว้ลงมาแช่ ใช้กระสอบฟางปิดปากภาชนะไว้ แล้วใช้วัสดุที่หนักทับเพื่อให้ไม้จมน้ำตลอดเวลา3. กระบวนการหมักใช้เวลา 10 - 15 วัน จึงใช้งานได้วิธีการนำไปใช้- โยนให้หมูกิน (นำท่อนไม้กลับมาใช้ใหม่ได้ 2 - 3 ครั้ง)หมายเหตุ ยาดองเป็นชุด ตัวยารวมกัน 3 ตัวขึ้นจะดี7. การทำเชื้อราขาวจากใบไผ่วัสดุอุปกรณ์1. กล่องไม้สี่เหลี่ยม สูง 10 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร2. ข้าวสุก 1 ลิตร3. พลาสติก4. ทัพพีตักข้าว5. กระดาวขาว6. เชือกฟาง7. ตะแกรง8. น้ำตาลทรายแดง9. ขวดโหล การเตรียมข้าวสวยเพื่อต่อเชื้อราขาว เชื้อราขาวที่ได้การต่อจากใบไผ่วิธีทำ1. หุงขาวให้สุก ทำให้เย็น แล้วนำข้าวใส่ในกระบะ เกลี่ยให้ทั่วกระบะ2. นำกระดาษขาวมาคลุมกระบะ แล้วมัดด้วยเชือกฟางให้แน่น3. ขุดหลุม บริเวณใกล้ต้นไผ่ พอกับขนาดกระบะใส่ลงไปได้ นำพลาสติกคลุมลงไปตามด้วยตะแกรง วางทับข้างบน แล้วจึงนำใบไผ่ปกคลุม ให้ทั่วกระบะไม้ รดน้ำให้รอบๆ4. กระบวนการหมัก 4 – 5 วัน ในฤดูร้อน , ฤดูฝน 6 – 7 วัน จะได้จุลินทรีย์ราขาวคลุมเต็มผิวหน้า5. นำเชื้อราขาวที่ได้ มาผสมน้ำตาลทราบ แล้วปิดผาหมักไว้ 7 วัน การนำไปใช้ - อัตรา 2 ช้อน / น้ำ 10 ลิตร- รดพื้นคอก- รดปุ๋ยหมักประโยชน์จากการเลี้ยงสุกร แบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)1. ได้รับความรู้2. มีรายได้เพิ่มขึ้น3. นำปุ๋ยไปใช้ในการเกษตร4. เผยแพร่ให้กับประชาชนสนใจ5. เป็นตัวอย่างในการเลี้ยงหมูในเขตเทศบาล6. เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนหลักในการเลือกภาชนะ และวัสดุในการหมัก1. ภาชนะบรรจุควรเป็นโอ่ง หรือ ไห ปากแคบ2. สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี3. ขนาดไม่ใหญ่เกินไปหมายเหตุ ควรเก็บไว้ในที่ร่ม ใช้น้ำตาลทราย ทำการหมัก จากผลไม้ที่ฉ่ำ ต้องใช้น้ำตาล 1 / 2 ของ น้ำหมักผลไม้รายรับ - รายจ่าย การเลี้ยงหมูหลุม (เริ่มเลี้ยงหมู ระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 - 20 กันยายน 2548)
ต้นทุนการเลี้ยงหมูหลุม1. ลูกหมู 10 ตัว 11,500 บาท2. อาหารสำเร็จรูป 12 ถุง 3,700 บาท3. รำ 40 ถังๆละ 20 บาท 800 บาท4. น้ำตาลทรายแดง 60 กิโลๆ ละ 14 บาท 840 บาท5. เกลือ (3 ถุง 50 บาท) 6 ถุง 100 บาท6. เหล้าขาว 6 ถุงๆละ 20 บาท 120 บาท7. ยาดอง 2 ถุงๆละ 20 บาท 40 บาท8. ค่าวัสดุ + อุปกรณ์ 965 บาทต้นทุน รวมทั้งสิ้น 18,065 บาทรายรับ-จากการขายหมูหมู 10 ตัว ตัวละ 66 กิโลกรัม ๆละ 43 บาท 28,380 บาทหัก ต้นทุน 18,065 บาทกำไรจาการขายหมู 10,315 บาท บวก รายได้จากการขายปุ๋ย 50 กระสอบๆละ 20 บาท 1,000 บาท รวม กำไรทั้งสิ้น 11,315 บาท หมายเหตุ การเลี้ยงหมู ในครั้งนี้ ต้องเรียนรู้ วิธีการเลี้ยงหมู และอยากให้ชาวบ้านเห็นช่องทางอาชีพ โดยให้ชาวบ้านใกล้เคียงนำปุ๋ยไปใช้ ในการเกษตร ปลูกผัก และทำนา ปัญหา1. อาหารสำเร็จรูปแพง2. การทำจุลินทรีย์บางอย่างไม่ค่อยได้ผล3. อาหารหมักไม่เพียงพอ4. อาหารหมักมีกลิ่นบูดแนวทางแก้ไข1. ใช้ส่วนผสมจากทางการเกษตรมาใช้ในการผสมอาหาร2. ทดลองจนได้ผล และยึดหลักวิธีการที่ถูกต้องใช้ทำต่อไป3. ใช้ผักสดผสมในการให้อาหาร4. เติมน้ำตาล เพิ่มเพื่ออาหรหมักมีกลิ่นหอมและดีขอเสนอแนะ1. ควรจัดให้มีจุดรับซื้อ และจำหน่าย สุกรแบบธรรมชาติ (หมูหลุม) ที่แน่นอน2. ควรมีการตรวจสอบคุณภาพการเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติอย่างต่อเนื่องก่อนเริ่มการเลี้ยงหมู ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เรื่องต่อไปนี้1. พันธุ์สุกร2. ตลาด (ราคาซื้อ - ขาย)3. วัตถุดิบทางการเกษตร4. ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา5. ช่างสังเกต จดบันทึกสรุป 1. อย่าเน้นของถูก ห้ามซื้อ ตามขายเร่2. ค่อยๆเลี้ยง อย่าใจร้อน3. การบริหารจัดการดีข้อดีของการเลี้ยงหมูหลุม1. ขี้หมูไม่เหม็น2. ประหยัดค่าอาหาร 70 %3. ให้อาหาร 2 มื้อ หรือ 1 มื้อ ตามผู้เลี้ยง4. ให้ผักสด และพืชตลอดวัน5. เศษอาหารจากที่เหลือ โรงครัว เพื่อนบ้านอาหารสุกร (เพิ่มเติม)1. อาหารสุกรธรรมชาติที่ชาวบ้านเลี้ยงในอดีต ใช้วิธีหั่นหยวกกล้วย เก็บผักหญ้า เศษอาหาร2. จากการไปศึกษาเลี้ยงสุกรของเกษตรกรจีน เขาใช้เศษพืชผัก ยอดมันสำปะหลังสับ เป็นชิ้นเล็กๆ คลุกน้ำตาลทราย หรือกากน้ำตาล หมักในถุงดำขนาดใหญ่ อัตราหมัก 100 : 4 ทิ้งไว้ 4 – 5 วัน ก็นำไปเลี้ยงสุกร โดยผสมปลายข้าว รำอ่อน ก็จะช่วยลดต้นทุน โดยไม่ใช้อาหารสำเร็จเลย3. ผลการวิจัยของ ดร.สุริยา สานรักกิจ แห่งฝ่ายเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิจัย พบว่า เศษผักมี ปลอดสายพิษ 100 กก. หมักน้ำตาลทราบ หรือกากน้ำตาล 4 กก. และผสมเกลือ 1 กก. หมักในถุงดำไล่อากาศออก มัดปากถุงทิ้งไว้ 7 วัน จะได้ผักที่มีคุณภาพดี4. อาจารย์ โช ฮาน คิว เจ้าตำราบอกว่า อาหารสุกรประมาณ 1 ใน 3 หรือ ประมาณ 30 % ควรเป็นพืชสีเขียว ดิน IMO สามารถนำมาคลุกกับรำ และปลายข้าวนำไปผสมอาหารจากตลาดได้ครึ่งต่อครึ่ง อาจหมักกับหยวกกล้วย ที่สับเป็นชิ้นเล็กๆได้5. การใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ตากแห้งบดเป็นผงรวมกัน เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้น ไพล ฝรั่งขี้นก ลูกใต้ใบ ใช้ผักบด 1 กก. ผสมอาหารแห้งทุก 100 กก.
หัวใจของการเลี้ยงหมูหลุมขยันใจรักน้ำตาลทรายตรงต่อเวลา

การเลี้ยงกบ

เทศบาลตำบลกุดน้ำใส ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงกบในบ่อพลาสติก เมื่อวันพุธที่ 28 พฤษภาคม 2551 โดยวิทยากรผู้มีประสบการณ์การเลี้ยงกบที่ประสบผลสำเร็จ คือคุณธนพล รักบุญ เป็นผู้มาถ่ายทอดความรู้ด้วยตนเอง มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรม จำนวน 93 คน โดยเนื้อหาอย่างย่อมีรายละเอียดดังนี้
การเลี้ยงกบในบ่อพลาสติก
การเลี้ยงกบเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งในการเลี้ยงนั้นควรมีความเข้าใจถึงวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องก่อนจึงจะทำให้การเลี้ยงประสบความสำเร็จ
สิ่งที่ควรคำนึงก่อนการเลี้ยงกบ
ความพร้อมในด้านความรู้และการลงทุน
มีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน
มีการวางโปรแกรมการผลิตที่ดีเพื่อให้สามารถจำหน่ายในช่วงที่กบมีราคาดี และมีต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุดพันธุ์กบ . พันธุ์กบที่เหมาะสม คือ กบนา ที่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีเหลือง มีอัตราการเจริญเติบโตดี
รูปแบบการเลี้ยง• การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ • การเลี้ยงในบ่อดิน • การเลี้ยงในกระชัง
ระยะเวลาในการเลี้ยง• ใช้เวลา 3.5-4 เดือน ตั้งแต่ระยะฟักออกจากไข่จนถึงจับจำหน่ายได้กบขนาด 6-7 ตัวต่อกิโลกรัม
สถานที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงกบ• ควรอยู่ใกล้บ้านและสะดวกต่อในการดูแล • อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีคุณภาพดี เพียงพอตลอดการเลี้ยง • เป็นพื้นที่สูงหรือที่ดอนเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม • ห่างไกลจากแหล่งชุมชนหรือบริเวณที่มีเสียงอึกทึกรบกวน • อยู่ใกล้แหล่งจำหน่ายอาหารกบ • สะดวกในการจับ
การเลี้ยงกบขุนหรือกบเนื้อ • บ่อที่นิยมเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นบ่อซีเมนต์ขนาด 3x4 เมตร สูง 1.2 เมตร ซึ่งเป็นบ่อที่สะดวกในการจัดการ ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป • ปล่อยลูกกบอายุ 1 เดือนเศษ ในอัตรา 120-180 ตัวต่อตารางเมตร โดยจะจับกบได้ 200-300 กิโลกรัมต่อบ่อ
อาหารและโปรแกรมการให้อาหาร. ลูกอ๊อดอายุ 3-6 วัน ให้ไข่ตุ๋นหรืออาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน โปรตีน 40 % ชนิดผงหรือ เม็ดผสมน้ำปั้นเป็นก้อน วางกระจายให้ทั่ว . ลูกอ๊อดอายุ 6-20 วัน ให้อาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน โปรตีน 40 % ชนิดเม็ดลอยน้ำ ให้กินวันละ 3-4 ครั้ง (ประมาณ 6 % ของน้ำหนักตัวต่อวัน) . กบอายุ 20-40 วัน ให้อาหารชนิดเม็ดลอยน้ำโปรตีน 37 % ซึ่งเป็นอาหารกบเล็กให้กินวันละ 3 ครั้ง (ประมาณ 5 % ของน้ำหนักตัว) . กบอายุ 40-70 วัน ให้อาหารชนิดเม็ดลอยน้ำโปรตีน 35 % ซึ่งเป็นอาหารกบรุ่นให้กินวันละ 2 ครั้ง (ประมาณ 3-4 % ของน้ำหนักตัว) . กบอายุ 70 วัน-จับขาย ให้อาหารชนิดเม็ดลอยน้ำโปรตีน 30 % ซึ่งเป็นอาหารกบใหญ่ ให้กินวันละ 2 ครั้ง (ประมาณ 2-3 % ของน้ำหนักตัว) . กบพ่อแม่พันธุ์ ให้อาหารชนิดเม็ดลอยน้ำ โปรตีน 30 % ซึ่งเป็นอาหารกบใหญ่ ให้กินวันละ 2 ครั้ง (ประมาณ 2-3 % ของน้ำหนักตัว)การจัดการระหว่างการเลี้ยง
การจัดการระหว่างการเลี้ยง. เปลี่ยนถ่ายน้ำ ล้างขัดบ่อ ทำความสะอาดที่ให้อาหาร โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำ วันละ 1-2 ครั้ง. จัดขนาดกบแต่ละบ่อให้ใกล้เคียงกันโดยการคัดขนาดกบสม่ำเสมอ เก็บบันทึกข้อมูลระหว่างการเลี้ยง เช่น วันที่เพาะฟัก ปริมาณกบต่อบ่อ ปริมาณกบที่ตาย ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวัน ปริมาณอาหารที่ใช้ทั้งหมด ปริมาณกบที่จับได้ทั้งหมด ขนาดกบที่จับ วันที่จับ ฯลฯ
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดคู่มือการเลี้ยงกบ ที่นี่